ไดรว์ CD/DVD
ไดรว์ CD/DVD เป็นเครื่องอ่านข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล  โดยเครื่องนี้ในปัจจุบันสามารถทั้งอ่านและยังเขียนได้ด้วย  ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น  และสื่อ CD/DVD ในปัจจุบันนั้นมีมากมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ ไดรว์ CD/DVD โดยความเร็วในปัจจุบันถึง 54x DVD จะมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 16 x  ซึ่งมีทั้งแบบการเชื่อมต่อจากภายนอกและการเชื่อมต่อจากภายใน จากอดีตฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5นิ้วหนึ่งแผ่นมี ความจุเพียง 1.44 เมกะไบต์ แต่สำหรับแผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วหนึ่งแผ่นมีความจุมากถึง 650 เมกะไบต์ หรือที่เป็น DVD สามารถรุได้สูงสุด ถึง 30 ในแบบ  Blu-ray Discซีดีรอมนอก จากจะมีความจุมากแล้วยังช่วยให้มีความเร็วในการติดตั้งโปรแกรมด้วยเพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาในการสลับแผ่นเหมือน ฟลอปปี้ดิสก์ และยังมีความเร็วในการอ่านข้อมูลเร็วกว่าแผ่นดิสก์ทำให้มีการนำเอาซีดีรอมมาใช้มากขึ้น

ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายใน



ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายนอก

ส่วนประกอบด้วยหน้าของ ไดรว์ CD/DVD


ส่วนประกอบด้วยหลังของ ไดรว์ CD/DVD

ฟล๊อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) 
ใช้อ่าน/เขียนแผ่นฟล๊อปปี้ดิสก์ แต่มีความจุต่ำและเสียหายง่าย ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว

 แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) 
แหล่งจ่ายไฟมีหน้ามีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลย  ซึ่งก้มีหลายแบหลายขนาดให้เลือกในปัจจุบัน  ทั้ง 300 w 500w หรืออื่นอีกมากมาย  โดยจะนำกระแสไฟฟ้าที่จ่ายตามบ้าน  220 โวลต์  ก็เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องเอาใจใส่ด้วย  เพราะถ้าเกิดแหล่งจ่ายไฟไม่ดีก็เหมือนกองทัพขาดเสบียง  ไม่พอกอินไม่พอใช้และแล้วก็หมดแรงสู้คนอื่นไม่ได้  เหมือนกันครับ  ถ้าแหล่งจ่ายไฟฟ้าไม่เพียงพอ  ก็อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณน็อกไปเลย

ลักษณะภายนอกของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
ลักษณะภายในของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
 
 
 
 

 การ์ดแสดงผล (VGA Card)VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง

บัส เป็นส่วนที่ติดต่อกับซีพียู
โปรเซสเซอร์ เป็นส่วนที่ช่วยลดภาระของซีพียูและเพิ่มความเร็ว ในการแสดงผลทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวบนจอ
หน่วยความจำ (VideoRAM)  ใช้เก็บข้อมูลของภาพที่จะแสดงบนจอแต่ละ เฟรม หรือเรียกว่าเป็น framebuffer นั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีที่พักข้อมูลหรือbufferสำหรับการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ เช่น สำหรับภาพถัดไป  ( next frame )สำหรับข้อมูลความลึกในภาพ ( Z – buffer ) เป็นต้น
ตัวแปลงสัญญาณภาพ (RAMDAC)เป็นส่วนที่แปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณที่จะส่งไปยังจอภาพต่อไป
ระบบบัสและการติดต่อกับซีพียู
การ์ดแสดงผลจะติดต่อรับข้อมูลและคำสั่งจากซีพียูผ่านทางระบบบัส(ที่อยู่บนเมนบอร์ด)ระบบบัสที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับ
การ์ดแสดงผลที่ตั้งแต่ขนาดที่รับส่งข้อมูลทีละ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 ไปจนถึง 256 บิตหรือในอนาคตก็อาจมากกว่านี้ระบบบัสที่นิยมใช้กันในปัจจุบันสำหรับการ์ดแสดงผล ได้แก่พวก local bus ทั้งหลาย เช่น PCI (Pripheral Component Interconnect) และ AGP (Accelerated Graphic Port) เพราะเป็นระบบบัสที่มีความเร็วและประสิทธิภาพดีพอสำหรับซีพียูในยุค
ปัจจุบัน ส่วนในเครื่องรุ่นเก่าๆ จะยังพบการ์ดแสดงผลที่ต่อกับบัสแบบ ISA , EISA และ MCAได้บ้าง ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่าพวก localbus       นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตบางรายติดตั้งวงจรแสดงผล ไว้บนเมนบอร์ดและต่อกับซีพียูโดยตรง    การออกแบบในลักษณะนี้อาจจะไม่ผ่านวงจร
ควบคุมของสล็อตแบบใดๆทั้งสิ้น แต่จะติดอยู่กับบัสของซีพียูในลักษณะของ local bus เช่นเดียวกันกับ VL – Bus , PCI และ AGP
PCI BUS
      บัสแบบ PCU ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับการ์ดแสดงผลก็เหมือนกับบัส PCI ที่ใช้ในสล็อตทั่วๆไป คือ ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 132 เมกะไบต์ต่อวินาที (โดยส่งข้อมูลทีละ 32 บิตหรือ 4 ไบต์ คูณความถี่ 33MHz) แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของclock(เช่นกรณีของการoverclock)ก็อาจมีผลให้ความเร็วแตกต่างออกไป และหากสูงเกินไป การ์ดก็อาจ  ทำงานไม่ได้เลย การ์ดแสดงผลแบบ PCIควรใช้เสียบกับสล็อตPCIอันไหนก็ได้เหมือนๆกันหรือในบางเครื่องอาจมีวงจรแสดงผลที่เชื่อมต่อในแบบ PCI แต่ฝังอยู่ในเมนบอร์ดเลยก็ได้
AGP
AGP หรือ AcceleratedGraphicport  เป็นระบบบัสที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้ความเร็วด้านกราฟิกสูงขึ้นไปอีกจนถึงระดับกิกะไบต์ต่อวินาที บัสแบบนี้เริ่มมีในเครื่องที่ใช้ชิปเซ็ต 440LX โดยจะมีเพียงสล็อตเดียวเท่านั้นบนเมนบอร์ด ทั้งนี้ AGP จะทำงานด้วยความถี่เริ่มจาก 66 MHzและต่อมาได้มีรุ่น AGP 2x ในชิปเซ็ต 440BX ที่เพิ่มความถี่เป็น 132 MHz และ AGP 4x ที่เพิ่มเป็น 266 MHz ซึ่งเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็น 2 และ 4 เท่าคือ 528 – 533 MBps และ 1056 –1064 MBps ตามลำดับ ชิปเซ็ตของ Intle ในปัจจุบันสนับสนุน AGP 2x และ 4x แล้ว แต่ยังอาจมีการ์ดบางรุ่นเท่านั้นที่จะใช้ได้แค่ AGP 1x เท่านั้น
ความเร็วที่เพิ่มขึ้นของAGPนี้อาจไม่ปรากฏชัดนักในการแสดงผลแบบ 2 มิติทั่วไปแต่จะช่วยได้มากในการแสดงผล 3 มิติ ที่ต้องมีพื้นผิว
( texture ) มาประกอบกับภาพที่สร้างขึ้นเองจากโปรแกรม ( เช่นที่ใช้ในเกมต่างๆ ) และการแสดงภาพวีดีโอที่เล่นจากไฟล์ MPEG หรือ VCD นอกจากนี้ AGP ยังยอมให้โปรเซสเซอร์ของการ์ดแสดงผลสามารถดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ( RAM ) ในเครื่องพีซีมาใช้ได้ด้วย เช่น ใช้เก็บ texture ต่างๆ สำหรับการ์ดแสดงผล 3 มิติ เป็นต้น ซึ่งจะดึงมาแสดงผลบนจอได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาก๊อปปี้มาใส่ในแรม บนการ์ดอีกที่หนึ่งก่อนวิธีการทำงานแบบนี้เรียกว่า AGP Texturing หรือ Direct Memory Execute ( DIME ) ซึ่งจะใช้ได้ในเครื่องที่ใช้ Windows 95 ORS 2.1หรือWindows98ขึ้นไปเท่านั้นซึ่งจะต้องใช้ส่วนประกอบ  ทางซอฟแวร์ คือ Memory Manager เวอร์ชั่นใหม่ (VMM32.VXD) ที่มากับไฟล์ USBSUPP.EXE สำหรับอัปเกรดเรื่อง USB นั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องใช้ร่วมกับ DirectX 5
ขึ้นไปด้วยส่วยผู้ขายการ์ดก็จะต้องให้ไดรเวอร์ที่ถุกต้องคือไฟล์ VMM32.VXD มาด้วยจึงจะใช้ตรงกัน( VGARTD ย่อมาจาก Virtual Graphics Address Remapping Table )
โครงสร้างของบัสแบบ AGP
บัสแบบ AGP ทำงานได้เร็วเพราะนอกจากจะใช้ความถี่ที่สูงกว่าPCI แล้วยังมีกลไกลเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เช่นการที่ทำงานโดยมีเพียงสองฝ่ายคือชิปเซ็ตกับการ์ดแสดงผลเท่านั้น ไม่มีอุปกรณ์อื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องจึงสามารถทำความเร็วได้เต็มที่โดยไม่ต้อง  มีใครมาแบ่งเวลาหรือขัดจังหวะเหมือนบัส PCI ที่ใช้ร่วมกันระหว่างหลายๆอุปกรณ์ จุดสำคัญของ AGP คือ ชิปเซ็ตต้องเป็นตัวจัดการ ซึ่งต้องเป็นรุ่น 440LX , 440BX และ440EX หรือเทียบเท่าขึ้นไปจึงจะใช้ได้ ดังรูปส่วนประกอบของบัส AGP

นอกจากนี้การที่การ์ดแสดงผลสามารถอ้างถึงหรือเรียกใช้ข้อมูลในแรม ของพีซีโดยตรงที่เรียกว่า Direct Memory Execute ( DIME ) นั้นก็จะผ่านชิปเซ็ตอีกเช่นกันโดยจะมีการกันที่ส่วนหนึ่งไว้โดยเฉพาะให้ใช้ ร่วมกันระหว่างการ์ดแสดงผลฝ่ายหนึ่ง กับCPU และอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้บัส PCI อีกฝ่ายหนึ่ง โดยใช้กลไกลที่เรียกว่า GRAT ในการmap เอาแรม ที่อาจไม่ต่อเนื่องกัน มาให้ปรากฏเสมือนเป็นพื้นที่ต่อเนื่องทั้งสองฝ่ายเรียกใช้ได้เหมือนกันซึ่งแอดเดรสของหน่วยความจำที่เรียกใช้ผ่าน GART ได้นี้จะเรียกว่า “ ช่องเปิดของ AGP”ดังรูป

ฮาร์ดดิส (HARDDISK) คืออะไร

ฮาร์ดดิส เป็นที่เก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Harddisk นั้นมีความจุที่แตกต่างกันไป โดยปัจจุบัน ความจุของ Harddiskมีความจุถึงระดับ terabyte(1,000 GB)กันแล้ว ซึ่ง ความแตกต่างของ ฮาร์ดิส แต่ละตัวในคือ ความจุ ความเร็วรอบในการหมุนของจานแม่เหล็กที่อยู่ใน ฮาร์ดิส หน่วยความจำ Buffer
image harddisk
ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle
ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่มอินเตอร์เฟส “Interface” หรือการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิส มีดังนี้
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)

IDE Sata
ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อของฮาร์ดิสรุ่นเก่าที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่
2. . แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)

E-IDE harddisk image
เป็นการเชื่อมต่อของฮาร์ดิสที่มีการ โดยการใช้สายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาการทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า แบบ IDE โดยมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
 
harddisk scsi ฮาร์ดดิส (Hard Disk ) คืออะไร
เป็น ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE อย่างชัดเจน โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน ที่เรียกว่า การ์ด SCSI ซึ่งจะทำงานผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตรา โดยมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงสุดที่ 320 เมกะไบต์/วินาที  การเชื่อต่อแบบ แบบ SCSI  ส่วนใหญ่จะใช้กับ Server
4.แบบ SATA (Serial ATA)

SATA Harddisk
SATA Harddisk เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้เร็ว
ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ SATA ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีการพัฒนาเป็นรุ่นๆไปดังนี้

Serial ATA          มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่  1.5 Gbit/s

Serial ATA II       มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่  3 Gbit/s

Serial ATA III      มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่  6 Gbit/s

Serial-ATA
รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA
หน่วยความจำ แคช หรือ บัฟเฟอร์ ที่ใช้ บน Harddisk
     บน Harddisk จะมีหน่วยความจำที่เรียกว่า บัฟเฟอร์ (Buffer) จะมีหน้าที่เป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอมโทรลเลอร์บนการ์ดหรือเมนบอร์ด

ตัวอย่างการทำงานของ Buffer บน Harddisk
ในกรณีอ่านข้อมูลบน Harddisk  ก็จะอ่านข้อมูลจาก Harddisk  ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปมาเก็บไว้ล่วงหน้าบน Buffer ก่อนเพื่อง่ายต่อการดึงข้อมมูลออกไปใช้งาน ไม่ต้องมาหาใน Harddisk  โดย Harddisk ที่มีขายทั่วไปจะมี Buffer อยู่ที่ 8MB 16MB 32MB ซึ่งค่า Buffer ยิ่งเยอะการทำงานของ Harddisk ก็จะมาส่วนทำงานได้เร็วขึ้นด้วย ราคาก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ความเร็วในการหมุนของ Harddisk
ใน Harddisk จะมีแผ่นแม่เหล็กวางอยู่ด้านใน การทำงานของแผ่นแม่เหล็กนี้ ก็คือ จะเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นแม่เหล็ก และเมื่อมีการอ่านหรือเขียนข้อมมูล ก็จะดำเนิการโดยหัวอ่าน ซึ่งความเร็วรอบของ แผ่นแม่เหล็กนี้ ถ้ายิ่งเร็วก็จะทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลได้เร็วมากยิ่งขึ้น ความเร็วใน Harddisk ทั่วๆไปอยู่ที่ 7200 รอบต่อวินาที แต่มีบางรุ่นที่เร็วกว่านี้ซึ่งก็ต้องแรกกับราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน

การบำรุงรักษา
     การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่ อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป

 

เมนบอร์ด (Mainboard)


เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงามมารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด


1.ซ็อกเก็ตซีพียู
 
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
2.1PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
2.2 Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก2.3eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน2.4 USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s

2.5LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ

2.6 ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์

3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล

4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม

6.ซิปเซต
ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ

–   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล

–   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ

7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย

8.หัวต่อแบบ IDE
ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM

9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว

10.ซ็อกเก็ตแรม

โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม
ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB
ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
ความสำคัญของเมนบอร์ด
     ชิ้นสวนคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น โปรเซสเซอร์, หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, ออปติคัลไดรฟ์ และเอ็กซ์แพนชั่นการ์ด จำเป็นต้องติดตั้งลงบนเมนบอร์ด เมนบอร์ดนั้นมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบ และยังมีผลกระทบกับข้อมูลจำเพาะขององค์ประกอบที่สามารถใช้ได้ และสมรรถนะของระบบด้วย
 


ซีพียู (CPU)

 
 
 
       CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chipอย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
        สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cacheด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็นClock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที

ใส่ความเห็น